9 วิธีง่าย ๆ แก้ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) ได้
เมื่อต้องออกเดินทางไปต่างประเทศนาน ๆ แล้วพอถึงเวลาเดินทางกลับเมืองไทย ช่วงเวลาการนอนต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากเวลาเดิมมาก ๆ ไม่ว่าจะช่วงเวลาการนอนในต่างประเทศหรือในประเทศไทยในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจจะส่งผลให้คุณเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือที่เรียกว่า เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา
เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนเวลาการนอนยากกว่าวัยอื่นๆ อาจจะส่งผลให้นอนไม่หลับในระหว่างเดินทางไปต่างประเทศที่เวลาการนอนไม่เหมือนเวลานอนปกติ อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) อาจจะทำให้การเดินทางของคุณไม่สนุกอีกต่อไป มาลองศึกษาอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) เป็นอย่างไรกัน
- มีอาการนอนไม่หลับในช่วงกลางคืน
- มีอาการง่วงในช่วงกลางวัน
- มีอาการปวดศรีษะ วิงเวียน คล้ายกับอาการเป็นหวัด
- เกิดอาการหิวในช่วงเวลากลางคืน
- ระบบทางเดินอาหารทำงานไม่ปกติ อาหารไม่ย่อย หรือบางคนอาจจะท้องผูกแบบที่ปกติไม่ค่อยเป็น
อาการเหล่านี้ อาจจะบ่งบอกว่า คุณกำลังเกิดอาการ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา ที่อาจทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของคุณอาจจะไม่สนุกหรือไม่เต็มที่เหมือนที่คาดหวังไว้
TraveliGo มี 9 เทคนิค แก้อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา มาให้คุณลองนำไปปรับใช้กับคุณได้ไม่ยากมาฝาก
1. ปรับเปลี่ยนเวลาการนอน
ถ้าหากคุณเป็นคนนอนตรงเวลาเป็นประจำ การเดินทางไปต่างประเทศที่มีช่วงเวลาต่างกันมากๆ 8-12 ชั่วโมง อาจจะส่งผลให้คุณเกิดอาการ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด สับสนทางอารมณ์ในช่วงเวลากลางคืน อาการเหล่านี้ส่งผลให้คุณเกิดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ดังนั้นก่อนถึงกำหนดการเดินทางจริงๆ คุณควรลองปรับเปลี่ยนเวลาการนอนตั้งแต่ก่อนเดินทาง ให้เวลาการนอนของคุณเปลี่ยนไปตามโซนหรือประเทศที่คุณกำลังจะเดินทางไป อาจจะใช้เวลา 3-7 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวก่อนเดินทาง
2. ดื่มน้ำบ่อยๆ
การดื่มน้ำ เรื่องง่ายๆ ที่ช่วยลดอาการ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา บางท่านที่เดินทางในช่วงกลางคืน อาจจะการเกิดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน ส่งผลให้คุณนอนไม่หลับตั้งแต่อยู่ในห้องโดยสารบนเครื่องบิน เพราะในห้องโดยสารบนเครื่องบินส่วนใหญ่จะมีอากาศน้อยกว่าบนพื้นดินและมีความชื้นต่ำ อาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการสูญเสียน้ำ หายใจไม่คล่อง อ่อนล้าระหว่างเดินทาง ดังนั้นการดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ บนเครื่องบินอาจจะช่วยร่างกายไม่ขาดน้ำ ร่างกายรู้สึกสดชื่น หายใจคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลากลางคืน
3. ดื่มกาแฟในช่วงกลางวัน
อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือ อาการเมาเวลา มักจะเกิดในช่วงเวลากลางคืน อาการที่เด่นชัด คือ นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน และมีอาการง่วงในช่วงกลางวัน การดื่มกาแฟในช่วงกลางวันอาจจะช่วยให้คุณไม่เกิดอาการง่วงในระหว่างวัน แต่ก็ไม่แนะนำให้ดื่มมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลให้คุณนอนไม่หลับในช่วงกลางคืนเช่นกัน
4. ดื่มนมก่อนนอน
การดื่มนมอุ่น ๆ ปริมาณ 1 แก้วก่อนนอน เป็นวิธีที่ง่ายและดีต่อสุขภาพ จะทำให้ร่างกายผ่อนคลาย แล้วลองนอนนิ่ง ๆ หลังจากดื่มนมอุ่นเสร็จเรียบร้อย แล้วเปิดเพลงเบา ๆ สร้างบรรยากาศให้เคลิ้ม ชวนให้ผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น
5. รับประทานอาหารเย็นให้เร็วขึ้น
อีกวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ปรับตัวง่ายขึ้น ลดการเกิดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) คือ การปรับเวลารับประทานอาหารเย็นให้เร็วขึ้น ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้คุณจะบริหารจัดการเวลานอนให้เร็วขึ้น
6. ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายแบบไม่หักโหม ไม่เน้นกีฬาที่หนักหรือใช้แรงมากเกินไปในช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย สบายตัว และให้หลับง่ายขึ้นในช่วงกลางคืน
7. สัมผัสแสงแดดในช่วงเช้า
การได้สัมผัสแสงแดดในช่วงเวลาเช้า ประมาณ 30 นาทีต่อวัน จะช่วยลดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรืออาจจะทำให้อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) หายเร็วขึ้น เพราะแสงแดดในยามเช้าจะช่วยกระตุ้นการรับรู้หรือบอกร่างกายว่าตอนนี้คือเวลาเช้า ร่างกายก็จะปรับตัวได้เร็วขึ้น
8. พึ่งพายานอนหลับเป็นตัวช่วยเสริม
อาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรืออาการเมาเวลา มักจะเกิดขึ้นเมื่อเราเปลี่ยนเวลาในการนอนประมาณ 2-3 วัน หรือบางคนหากคุณยังปรับตัวไม่ได้ อาจจะเกิดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) นานเป็นสัปดาห์ การใช้ยานอนหลับจึงเป็นตัวช่วยเสริมให้คุณลดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ลง แต่การใช้ยานอนหลับ ควรได้รับการแนะนำหรืออยู่ในความดูแลของแพทย์ด้วย
9. ปรึกษาแพทย์
สำหรับท่านที่มีอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) นานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ถือว่าอาการนี้จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย หรือถ้าหากร่างกายเกิดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag) ถึงขั้น ปวดศรีษะตลอดเวลา วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงหนัก อาการเหล่านี้ไม่ดีนัก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอาการอย่างถูกต้อง
การเดินทางท่องเที่ยวคงไม่สนุก ถ้าคุณเกิดอาการ เจ็ทแล็ก (Jet Lag) หรือาการเมาเวลา ในระหว่างเดินทาง อาจจะส่งผลให้ทริปต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่คุณวางไว้ ส่งผลเสียต่อร่างกายหากเป็นมาก ๆ ดังนั้น คุณควรศึกษา วางแผน ฝึกการปรับตัว เพื่อลดอาการเกิดเจ็ทแล็ก (Jet Lag) วิธีที่ TraveliGo นำมาฝากก็ไม่ยาก สามารถลองทำได้ แล้วทุกการเดินทางของคุณจะได้เป็นทริปสุดแสนประทับใจตลอดการเดินทาง รับส่วนลดสุดคุ้มก่อนการเดินทาง >> ที่นี่ << พร้อมเดินทางด้วยความอุ่นใจตลอดทริปกับ ประกันการเดินทางต่างประเทศ คลิกเลย!