ประวัติศาสตร์ภาษาและวัฒนธรรมประเทศแอฟริกาใต้
กลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์เดินทางมายังแอฟริกาใต้เมื่อปี พ.ศ. 2195 และตั้งจุดพักบนเส้นทางการค้าเครื่องเทศระหว่างเนเธอร์แลนด์กับตะวันออกไกลขึ้นที่ เคปทาวน์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2349 สหราชอาณาจักรยึดแหลมกู๊ดโฮปทำให้ชาวเนเธอร์แลนด์ต้องอพยพขึ้นไปทางเหนือและตั้งเขตการปกครองของตนเองขึ้น การพบแหล่งเพชรและทองคำในช่วงระหว่างปี 2410-2429 สร้างความร่ำรวยให้แก่ผู้ตั้งถิ่นฐานเดิมและตั้งรัฐบัวร์ขึ้น ต่อมามีผู้อพยพมายังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวบัวร์ที่อาศัยอยู่เดิมถูกรุกราน ชาวบัวร์จึงทำสงครามต่อต้านสหราชอาณาจักร ระหว่างปี พ.ศ. 2442-2445 แต่พ่ายแพ้เมื่อปี พ.ศ. 2491 ต่อมาชาวอังกฤษและบัวร์ ร่วมกันบริหารประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ภายใต้ชื่อสหภาพแอฟริกาใต้ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี 2504 พรรคแห่งชาติที่มีชาวแอฟริกาเนอร์สได้เข้าบริหารประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2491 และประกาศใช้นโยบาย Apartheid ซึ่งเป็นนโยบายแบ่งแยกสีผิวที่เอื้อประโยชน์ต่อคนผิวขาวซึ่งเป็นชนส่วนน้อยและกดขี่ชาวผิวดำซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ พรรคสภาแห่งชาติแอฟริกันต่อต้านนโยบาย Apartheid และผู้นำหลายคนถูกจับจำคุก รวมทั้งนาย เนลสัน แมนเดลา ซึ่งถูกจำคุกนานถึง 27 ปี การประท้วงภายในประเทศและการกดดันจากนานาประเทศทำให้เกิดการเจรจาและตกลงจะถ่ายโอนอำนาจสู่การปกครองโดยคนส่วนใหญ่ รวมทั้งการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองซึ่งนำไปสู่การเลือกตั้งหลายเชื้อชาติเมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดนโยบาย Apartheid และเริ่มการปกครองโดยรัฐบาลที่นำโดยพรรคสภาแห่งชาติแอฟริกัน ทั้งนี้ ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
1 =