ย้อนรอยความเชื่อ กับประเพณีบุญบั้งไฟ

TraveliGo

ขาดอาหารพออยู่ใด้ แต่ถ้าขาดน้ำละก็ สิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตาม จะไม่สามารถถือกำเนิดขึ้นมาใด้เลย ” จบประโยคนี้ทำให้นึกถึงงานเทศกาลบุญบังไฟ ใช่แล้ว บั้งไฟที่เมื่อจุดขึ้นไปบนฟ้าแล้วก็ระเบิด ตู้ม!!! แต่มันจะต่างอะไรกับปะทัดธรรมดาละ ถ้ามันมีแค่นั้น

สำหรับทางภาคอิสานของไทย ชาวบ้านที่นี่เค้ามีความเชื่ออยู่อย่างนึงที่จะนิยมทำกันเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือน ที่ 6 หรือ เดือน 7 ตรงกับช่วงหน้าฝน เข้าสู่การทำไรทำนา การเกษตรต่าง ๆ ก็ต้องมีการใช้น้ำเพื่อให้เกิดผลผลิตตามความต้องการ ในช่วงนี้ชาวบ้านจะนำบั้งไฟมาจุดขึ้นไปบนฟ้า เพื่อเป็นการบูชาเทพพญาแถนขอฝนให้ตกตามฤดูกาลโดยมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะบันดาลให้ฝนตกไม่ให้เกิดความแห้งแล้ง

“ ประเทศไทยและความเชื่อในสิ่งต่าง ๆ เป็นของคู่กัน ทำให้มีประเพณีต่าง ๆ ให้เห็นอยู่มากมาย ” 

ประเพณีบุญบั้งไฟเองก็เช่นกัน ที่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อของคนอิสานจากประเพนีความเชื่อก็กลายมาเป็นงานเทศกาลที่มีความบันเทิงเข้ามา เพื่อให้เกิดความสนุกและเพลิดเพลินสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นแน่นอนคือการท่องเที่ยว

ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร

ยโสธรเป็นจังหวัดที่งานบุญบั้งไฟกลายเป็นงานเทศกาลระดับชาติไปแล้ว โดยงานนี้เป็นงานที่ดึงดูดความสนใจของคนยโสธรและนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเป็นอย่างมากเพราะเป็นบุญบั้งไฟนานาชาตินั่นเอง

จะไม่ให้เรียกว่าบุญบั้งไฟนานาชาติคงไม่ได้เพราะมีทั้งบั้งไฟจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาร่วมงานทุกปีและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกโดยมีการจัดงานบันเทิงและประกวดต่าง ๆ มากมายภายในงาน

แตกต่างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา   ปกติแล้วยโสธรเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่มีความเงียบสงบไม่วุ่นวาย แต่ตลอดระยะเวลาสัปดาห์ที่จัดงานเทศกาลบุญบั้งไฟนั้น จังหวัดที่เงียบสงบอย่างยโสธรจะเปลี่ยนไปในทันทีเพราะจะได้ยินแต่เสียงกลอง เสียงเครื่องดนตรีไทยผสานกับเสียงกลอนเซิ้งของชาวบ้านแถวนั้น ที่พร้อมจะสร้างสนุกสนานและความแตกต่างที่หาที่ไหนไม่ได้ให้กับผู้ที่มาเยือนตลอดทั้งงาน

สิ่งเหล่านี้เองที่เป็นตัวบอกเล่าตำนานความเชื่อของชาวอิสานกับเทศกาลบุญบั้งไฟได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ประเภทของบั้งไฟ บั้งไฟมี 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 ได้แก่ บั้งไฟที่ไม่มีหาง เช่นบั้งไฟพุ บั้งไฟพะเนียง บั้งไฟตะไล บั้งไฟดอกไม้ บั้งไฟโครงขาว บั้งไฟม้า
ประเภทที่ 2 ได้แก่ บั้งไฟที่มีหาง ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้
      บั้งไฟน้อย เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็กบั้งไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเสี่ยงทายดูว่าฝนจะตกหรือเปล่า
      บั้งไฟร้อย เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนน้อยกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขัน
      บั้งไฟหมื่น เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนระหว่าง 12 ถึง 119 กิโลกรัม
      บั้งไฟแสน เป็นบั้งไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งบรรจุดินปืน 120 กิโลกรัมการแห่บั้งไฟ

เรียกได้ว่าเป็นงานที่ให้ทั้งความบันเทิงและความรู้ แถมยังได้ซึมซับประเพณีดั่งเดิมและวิถีชีวิตแบบชาวบ้านที่นี่เป็นอย่างดี เก็บกระเป๋าแล้วเดินทางไปกับ TraveliGO กันเถอะ

https://th.traveligo.com/   <<< จองเลยสะดวกคุ้มค่า ครบจบในที่เดียว

#TraveliGo # ย้อนรอยความเชื่อ กับประเพณีบุญบั้งไฟ